7 พื้นที่เสี่ยงในบ้าน ที่มักเกิดเหตุพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ จนกระดูกหัก !
สำหรับการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย นอกจากจะต้องคอยติดตามการรักษาโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่องแล้ว อีกปัญหาที่มีอัตราการเกิดสูงกว่าวัยอื่นอย่างชัดเจน คือการพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ โดยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีอาการปวดเข่า ปวดหลังอยู่เดิม ทำให้ทรงตัวลำบาก, มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะเป็นประจำ, มีปัญหาเรื่องความจำเสื่อม หลงลืม ซึ่งหลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้หลายรูปแบบแตกต่างกัน
อุบัติเหตุพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ เพิ่มความเสี่ยงกระดูกหัก
การบาดเจ็บรูปแบบหนึ่ง ที่มักเกิดตามหลังจากการหกล้มของผู้สูงอายุ คือการที่มีกระดูกหักหรือกระดูกร้าว ซึ่งพบได้ประมาณ 10% โดยมักเกิดที่รอบสะโพก, กระดูกแขนส่วนปลาย, รอบข้อมือ และข้อเท้า บางการศึกษารายงานว่า ผู้สูงอายุแต่ละคน จะหกล้มจนทำให้เกิดการบาดเจ็บอย่างน้อยปีละครั้ง แต่เมื่อเกิดครั้งแรกแล้ว ครั้งที่ 2 และ 3 มักเกิดขึ้นอีกภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยมักจะเกิดการบาดเจ็บ และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าเดิม อาจส่งผลลดทอนคุณภาพชีวิต และระยะเวลาการมีชีวิตลง จึงควรหาทางป้องกันอุบัติเหตุตั้งแต่วันนี้ อย่างการเสริมด้วยคอลลาเจนเปปไทด์ บำรุงกระดูก, ส่งเสริมการออกกำลังกาย, ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และการตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำทุกปี
7 พื้นที่เสี่ยง ต่อการหกล้มรอบบ้าน
บันได
บริเวณบันได เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการหกล้ม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เพราะจะก้าวขาขึ้นลงบันไดแต่ละขั้นได้ลำบาก ซึ่งหากบ้านไม่มีราวบันได หรือราวจับทั้งสองข้างด้วยแล้ว อาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงได้มากกว่าเดิม
ห้องน้ำ
การหกล้มของผู้สูงอายุกว่า 36% เกิดขึ้นในห้องน้ำ ส่วนใหญ่มักเกิดขณะกำลังอาบน้ำ เพราะพื้นลื่นขึ้นจากน้ำสบู่ หรือบางคนอาจหกล้ม ในขณะที่กำลังก้าวขาออกจากโซนเปียกเข้าสู่โซนแห้ง มีบางส่วนที่หกล้มเพราะสะดุดพรมเช็ดเท้า โดยรูปแบบของการบาดเจ็บส่วนใหญ่ จะเป็นกระดูกสะโพกหัก และกระดูกรอบข้อมือหัก เพราะเหยียดแขนยันพื้นไว้ขณะลื่นล้ม
ห้องนอน
อุบัติเหตุพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ ที่เกิดในห้องนอนนั้นค่อนข้างสูง คิดเป็น 1 ใน 5 จากทั้งหมด หากเกิดขึ้นตอนกลางคืน มักเป็นเพราะไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ ทำให้สะดุดหกล้มได้ง่าย หรืออาจเกิดจากการที่ระบบประสาท ยังตื่นตัวไม่เต็มที่ ส่วนกรณีที่เกิดตอนเช้า มักมีสาเหตุจากการที่มีข้อติด หรือกล้ามเนื้อยึดเกร็งมาตลอดคืน จนอาจลุกขึ้นหรือก้าวเดินลำบาก
ห้องนั่งเล่น
ประมาณ 5% ของผู้สูงอายุ เกิดอุบัติเหตุหกล้มที่ห้องนั่งเล่น จากการสะดุดของที่วางเกะกะบนพื้น, สะดุดขอบพรม, เอื้อมหยิบของ, วิ่งจับหลาน, ไล่จับสัตว์เลี้ยง บางรายอาจเกิดแค่รอยฟกช้ำ ในขณะที่ส่วนหนึ่งอาจบาดเจ็บรุนแรง ถึงขั้นกระดูกสะโพกหัก, กระดูกต้นแขนหัก หรือล้มศีรษะฟาดพื้น
ห้องครัว
สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อหลังเสื่อม หรือข้ออักเสบอยู่นั้น หากต้องยืนทำกับข้าวหรือล้างจานเป็นเวลานาน อาจทำให้รู้สึกปวดเข่า ปวดหลังมากขึ้น สะโพกและขาอาจมีอาการชา อ่อนแรงร่วมด้วย นอกจากนี้การติดตั้งชั้นวางของสูงเกินไป อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มได้เช่นกัน
ระเบียง
ระเบียงเป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน จากการที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เพราะไฟระเบียงมักจะเป็นไฟขนาดเล็ก หรือไฟที่ค่อนข้างสลัว อาจทำให้ผู้สูงอายุก้าวพลาด บริเวณพื้นที่ต่างระดับระหว่างระเบียงกับพื้นด้านใน หรือบางรายอาจสะดุดขาเฟอร์นิเจอร์ แล้วล้มจนกระดูกสะโพกหักได้
สวนรอบบ้าน
การตกแต่งทางเดินของพื้นที่สวนรอบบ้าน หลายแห่งนิยมใช้แผ่นหินปูทางเดิน ที่มีพื้นผิวขรุขระ ปูด้วยหินลูกเต๋าที่อาจไม่เรียบเสมอกัน หรือบางครั้งอาจใช้หินปูพื้นสวนทั้งหมด อาจทำให้ผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดเข่า ปวดหลัง ปวดข้ออยู่เดิม สะดุดหกล้ม หรือเซเสียหลักได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่พื้นอาจลื่นกว่าเดิม
FORTE Collagen บำรุงกระดูกผู้สูงอายุ ลดเสี่ยงกระดูกหัก !
คอลลาเจนไทป์ 2 (Collagen type II) ที่มีอยู่ในฟอร์เต้คอลลาเจน เป็นคอลลาเจนเปปไทด์ บำรุงกระดูก สกัดจากกระดูกอ่อนไก่ สารอาหารสำคัญที่จะช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูก, กระดูกอ่อน, ข้อต่อ ดูแลอาการข้อเสื่อม, ข้ออักเสบ, ข้อติด, กระดูกพรุนให้ดีขึ้น อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากภายใน ร่วมกับการปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน นอกจากนี้ยังมีคอลลาเจนไทป์ 1, คอลลาเจนไทป์ 3, อาบาโลนคอลลาเจน และวิตามินซี ที่จะช่วยดูแลเส้นเอ็น, เส้นเลือด, กล้ามเนื้อ ทั้งยังฟื้นบำรุงผิวพรรณ เรียกคืนผิวสุขภาพดีได้อีกด้วย
การพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกระดูกหักได้บ่อย ส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และอีกส่วนเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ทั้งข้อเสื่อม ข้ออักเสบ กระดูกพรุน ที่จะทำให้ทรงตัวและเคลื่อนไหวร่างกายไม่มั่นคง การดูแลด้วยคอลลาเจนเปปไทด์ บำรุงกระดูกอย่าง FORTE Collagen จึงเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่จะเสริมความแข็งแรงของกระดูก ข้อต่อ และโครงสร้างร่างกาย ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักให้น้อยลงได้