รู้หรือไม่ ? ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ในผู้สูงอายุ กระทบคุณภาพชีวิตแบบคาดไม่ถึง

ทุกคนทราบดีว่า กล้ามเนื้อเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ แต่หากมองลึกลงไปในรายละเอียดจะพบว่า กล้ามเนื้ออยู่ในร่างกายแทบทุกส่วน เช่น หัวใจที่ช่วยสูบฉีดเลือด, กะบังลมช่วยในการหายใจ, ลำไส้ช่วยย่อยอาหาร, กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะที่ช่วยขับถ่ายของเสีย ซึ่งถ้าเกิด ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ย่อมทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำงานไม่สมบูรณ์แน่นอน

รู้จัก ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ปัญหาที่มักถูกมองข้าม

มวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่ถ้าลองสังเกตผู้สูงวัยที่บ้าน จะพบว่า หลายท่านมีกล้ามเนื้อน่องเล็กลง กล้ามแขนที่เคยมองเห็นชัดเจนหายไป หรือสะโพกแบนลงกว่าเดิม ซึ่งนั่นอาจเกิดจากมวลกล้ามเนื้อน้อยลงและมีขนาดเล็กลงก็ได้ เพราะความผิดปกตินี้พบได้เกือบ 20 – 30 % ของผู้สูงอายุ โดยอาจเริ่มสลายมาตั้งแต่อายุ 40 ปี และลดลง 3 – 8 % ทุก 10 ปี หากไม่เร่งฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ร่วมกับกำจัดปัจจัยเสี่ยง อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้เลย

ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง

เกิดการอักเสบ

สาเหตุจากทั้งจากฝุ่นควัน, มลพิษ, อาหารที่มีน้ำตาลสูง, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, โรคเรื้อรัง

ฮอร์โมนลดลง

เมื่อเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเพศจะลดลงอย่างชัดเจน นอกจากกล้ามเนื้อจะฝ่อลีบแล้วยังเพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ซึ่งจะทำให้คนแก่กระดูกขาหักง่ายขึ้นด้วย

กิจกรรมน้อยลง

มีการศึกษาพบว่า การเดินน้อยลงแค่ 2 – 3 สัปดาห์ ก็ทำให้คุณภาพและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงแล้ว ซึ่งอาจทำให้ปวดข้อเข่า และปวดกล้ามเนื้อขาง่ายขึ้น รวมถึงเสี่ยงต่อการหกล้มมากขึ้นด้วย

ทานอาหารน้อยลง

ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องการสูญเสียฟัน, การเคี้ยวกลืน, เบื่ออาหาร, ท้องอืดบ่อย ทำให้ทานได้น้อยลง จนเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีนและคอลลาเจน ซึ่งถือเป็นอาหารสร้างกล้ามเนื้อผู้สูงอายุ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

มีความเครียด

ความเครียด จะทำให้ระบบฮอร์โมนเสียสมดุล ส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูกลดลง ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้คนแก่กระดูกขาหักได้

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย กระทบกับชีวิตมากกว่าที่คุณรู้

การที่มีมวลกล้ามเนื้อลดลง หากมองผิวเผิน อาจดูเหมือนเป็นความเสื่อมตามวัย ที่ไม่ได้กระทบกับสุขภาพ หรือส่งผลให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก แต่ข้อมูลจาก 17 การศึกษาพบว่า คนที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยลง มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 3.5 เท่า และยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอีกหลายด้านด้วย

ร่างกาย

คนที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยลง ย่อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้น้อยกว่าเดิม เช่น หิ้วถุงกับข้าวนาน ๆ ไม่ได้, วิ่งออกกำลังกายไม่ทนเหมือนเดิม, ต้องหยุดพัก เวลาเดินขึ้นลงบันได, ปวดกล้ามเนื้อขาเป็นประจำ จนเดินแล้วหกล้มบ่อย, ทำงานบ้านได้น้อยลง, ทำงานหนักไม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้พลาดโอกาสสำคัญในชีวิต ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม, เดินสะดุดบันไดอีกด้วย

จิตใจ

งานวิจัยของประเทศเกาหลีแสดงว่า ชายและหญิงที่มีปัญหามวลกล้ามเนื้อน้อย จะเกิดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล 14% และ 26% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับคนวัยเดียวกันที่ไม่เป็นโรคจะมีเพียง 9% และ 19% เท่านั้น ซึ่งมากกว่าอย่างชัดเจน รวมทั้งยังใส่ใจดูแลตัวเองน้อยกว่าด้วย ในระยะยาวอาจทำให้เห็นคุณค่าในตัวเองน้อยลง (Low Self-Esteem) จะยิ่งส่งผลให้ซึมเศร้ารุนแรงขึ้นได้ 

ครอบครัว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย มีปัญหากล้ามเนื้อฝ่อลีบ มักจะช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง แอ็กทิฟลดลง บางรายอาจปวดกล้ามเนื้อขา ปวดข้อ จนเดินไม่มั่นคง เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มจนกระดูกหัก ซึ่งในกรณีของผู้สูงวัย มักจะเกิดกระดูกสะโพกหัก, กระดูกขาหัก, กระดูกแขนหัก และอาจมีศีรษะกระแทกพื้นร่วมด้วย อาจทำให้ทุพพลภาพ หรือสูญเสียความสามารถของอวัยวะบางส่วนถาวร ซึ่งจะเพิ่มความรับผิดชอบของครอบครัว ในการดูแลเพิ่มขึ้นด้วย

สังคม

มวลกล้ามเนื้อน้อย ทำให้ความคล่องตัวในการเดินทางและเคลื่อนไหวลดลง จึงไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน อย่างซื้ออาหาร, เดินซื้อต้นไม้, ไปธนาคารได้ตามต้องการ โดยเฉพาะคนแก่กระดูกขาหัก อาจต้องนอนติดเตียงเป็นเวลานาน เพราะมีอาการปวดข้อเข่าและข้อติดร่วมด้วย บางคนเคลื่อนไหวได้แค่ภายในพื้นที่จำกัด จึงมีโอกาสพบปะเพื่อนฝูงน้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพจิตใจอย่างแน่นอน

รีบดูแลตัวเอง ! ก่อนมวลกล้ามเนื้อจะลดลง

เพราะมวลกล้ามเนื้อที่น้อยลง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในทุกด้าน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย ที่มวลกล้ามเนื้อจะลดลงต่อเนื่อง ดังนั้นการทานอาหารสร้างกล้ามเนื้อผู้สูงอายุ ซึ่งอุดมไปด้วยคอลลาเจนเปปไทด์คุณภาพสูงอย่าง FORTE Collagen จึงมีความจำเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการศึกษาของ Cambridge University ที่พบว่า การทานคอลลาเจนเปปไทด์วันละ 15 กรัม ร่วมกับออกกำลังกายแบบแรงต้านสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น, มวลกระดูกเพิ่มขึ้น, มีไขมันลดลง และยังช่วยให้ควบคุมการทรงตัวได้ดีขึ้นด้วย

มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ ที่ทำให้เกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่ ดังนั้นการดูแลร่างกายด้วยการทานอาหารสร้างกล้ามเนื้อผู้สูงอายุอย่าง FORTE Collagen ตั้งแต่วันนี้ ย่อมส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวแน่นอน