จากรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ที่มีความเชื่อมโยงกับโลกดิจิทัลมากขึ้น ไม่ว่าจะทำงาน, เรียน, สั่งอาหาร, ชอปปิง ล้วนผูกพันกับแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งนั้น ทำให้อาการปวดข้อนิ้วมือ เป็นความผิดปกติที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ จนคนส่วนใหญ่คุ้นเคย หรือแม้แต่ผู้สูงอายุที่มีอาการข้อเสื่อมอยู่แล้ว ก็อาจละเลยปัญหานี้ไป ซึ่งความจริงแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อได้เช่นกัน
อาการ ปวดข้อนิ้วมือ จากข้ออักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ
หลายคนอาจเคยรู้สึกปวดรอบข้อนิ้วมือ ปวดข้อจี๊ด ๆ เฉพาะเวลาขยับ หรือปวดเฉพาะช่วงที่ใช้งานหนัก ซึ่งนั่นอาจเป็นแค่อาการปวดข้อ (Arthralgia) ที่เกิดจากเส้นเอ็น, พังผืด, กล้ามเนื้อ หรือถุงน้ำรอบข้อ แต่ถ้าเป็นอาการปวดข้อแบบตื้อ ๆ ที่มีข้อบวมแดง คลำผิวหนังแล้วอุ่น รู้สึกถึงของเหลวภายในข้อ เมื่อขยับแล้วปวดทุกทิศทาง บางครั้งพบว่า ปวดข้อนิ้วมือ ตอนเช้ามากที่สุด ซึ่งถ้ามีอาการในลักษณะนี้ ควรสงสัยภาวะข้ออักเสบ (Arthritis) ที่มีสาเหตุมาจากโรคอื่น นอกเหนือจากโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ที่เกิดจากคอลลาเจนข้อเสื่อมตามวัย อาจสัมพันธ์กับโรคอื่น หรือมีการใช้งานหนักกว่าปกติ โดยเป็นได้ทั้งข้ออักเสบเฉียบพลัน และข้ออักเสบเรื้อรัง
5 สาเหตุ ของอาการปวดข้อนิ้วมือ ที่ต้องรีบดูแล
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกาย ตอบสนองกับเนื้อเยื่อข้อต่อแบบผิดปกติ ส่งผลให้มีอาการปวดข้อนิ้วมือ ตอนเช้า มีข้อบวมแดง ข้อติดจนขยับไม่ได้ อาจปวดอยู่นานเป็นชั่วโมง แต่ข้อนิ้วที่อยู่ปลายสุด (Distal Interphalangeal Joints, DIP) มักจะไม่ปวด โดยบางคนอาจมีปุ่มนูนขึ้นร่วมด้วย (Rheumatoid Nodule) เป็นโรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย แต่อาจเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 30 ปี
ข้ออักเสบจากติดเชื้อ (Septic Arthritis)
ถึงแม้จะมีอาการข้อเสื่อมอยู่เดิม แต่หากมีอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน จำเป็นต้องนึกถึงเรื่องการติดเชื้อของข้อต่อเสมอ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ข้อโดยตรงหลังเกิดอุบัติเหตุ มีทางเปิดของผิวหนังตรงสู่ข้อ หรือเป็นการติดเชื้อจากระบบอื่นในร่างกาย แล้วกระจายมาสู่ข้อ เช่น ข้ออักเสบจากหนองใน (Gonococcal Arthritis), ข้ออักเสบจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ (Viral Arthritis), ข้ออักเสบจากวัณโรค (TB Arthritis) ซึ่งมักมีอาการปวดข้อนิ้วมือตลอดวัน บวมแดงหลายข้อพร้อมกัน โดยมักมีอาการไข้ เบื่ออาหารร่วมด้วย
ข้ออักเสบจากแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus, SLE)
โรคเอสแอลอีหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง สาเหตุเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กลับมาทำลายเนื้อเยื่อของตัวเอง โดยเข้าใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงโจมตีร่างกายในหลายระบบ หนึ่งในนั้นคือระบบข้อต่อ ที่มักทำให้ปวดข้อนิ้วมือ ตอนเช้า บางรายอาจปวดข้อมากตลอดทั้งวัน โดยมีอาการข้อบวมมาก จนขยับข้อไม่ได้ หรืออาจมีปลายนิ้วซีด แล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำเมื่ออากาศเย็นร่วมด้วย (Raynaud’s Phenomenon) นอกจากนี้ยังอาจมีอาการผิดปกติอื่น เช่น ผื่นขึ้นที่แก้มทั้งสองข้าง (Malar Rash), เยื่อหุ้มปอดอักเสบ, โปรตีนรั่วในปัสสาวะ ซึ่งควรต้องรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจเลือดเพิ่มเติม
โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic Arthritis)
ข้ออักเสบที่เกิดจากโรคสะเก็ดเงิน เป็นอาการข้อเสื่อมในผู้สูงอายุที่ต้องนึกถึง โดยเฉพาะเมื่อมีสะเก็ดเงินของผิวหนังนำมาก่อน มักมีอาการบวมแดงของข้อนิ้วส่วนปลาย (DIP Joints) ส่วนใหญ่เป็นน้อยกว่า 4 ข้อ อาจพบการทำลายกระดูก (Arthritis Mutilans) ประมาณ 5% ร่วมกับการอักเสบของเส้นเอ็นที่นิ้ว, ฝ่ามือ, เอ็นร้อยหวาย, กระดูกสันหลัง ทำให้มีอาการปวดข้อ ปวดกระดูกทั่วตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ
โรคนิ้วล็อก (Trigger Finger / Stenosing Tenosynovitis)
เกิดจากการที่ปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมืออักเสบ จนหดรั้งข้อนิ้วให้งอมากขึ้น ส่งผลให้ข้อนิ้วอยู่ในท่างอผิดปกติ ในระยะแรกอาจมีข้ออักเสบเฉียบพลัน จนคิดว่าเป็นข้อเสื่อม ต่อมาโครงสร้างโดยรอบจะมีการบาดเจ็บสะสม จนทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกรุนแรง แบบที่ไม่สามารถยืดออกได้ หากลองประคบร่วมกับทำกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัด เพื่อให้นิ้วกลับมาใช้งานได้ปกติอีกครั้ง
อาการ ปวดข้อนิ้วมือ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งข้ออักเสบจากภูมิคุ้มกัน, เกิดการติดเชื้อ, จากผลึกสะสม หรือเกิดจากอุบัติเหตุ หากปล่อยไว้ไม่ได้รักษา อาจทำให้วินิจฉัยโรคล่าช้า แต่ถ้าเป็นข้อเสื่อม ที่เกิดจากคอลลาเจนข้อเสื่อมตามวัย ควรเริ่มดูแลตั้งแต่อายุ 25 ปี เพราะหลังจากนั้น คอลลาเจนในร่างกายจะลดลงทุกปี ส่งผลให้มีอาการข้อติด จนเคลื่อนไหวลำบาก ซึ่งคอลลาเจนที่มีอยู่ใน FORTE Collagen เป็นโปรคอลลาเจนที่จะช่วยบำรุงกระดูก เสริมความแข็งแรงของข้อต่อ เพิ่มความยืดหยุ่นให้เส้นเอ็น เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยชะลอความเสื่อมตามวัย ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากกว่าเดิม