ภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุนในผู้สูงอายุ เป็นความเสื่อมที่ซ่อนอยู่ภายใน อาจมีหลายครั้งที่ร่างกายพยายามส่งสัญญาณเตือนตั้งแต่ระยะแรก แต่กลับถูกมองข้าม ปล่อยเวลาล่วงเลย ไม่เคย ตรวจมวลกระดูก จนในที่สุดมวลกระดูกบางลง กลายเป็นโรคกระดูกพรุน เสี่ยงต่อกระดูกหัก, กระดูกสันหลังทรุด, ข้อเสื่อม อาจทำให้ทุพพลภาพ นอนติดเตียง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก
การตรวจมวลของกระดูก คือการวัดความหนาแน่นภายในเนื้อกระดูก (Bone Mineral Density, BMD) ใช้วิธีสแกน (Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner, DEXA) คล้ายกับการเอกซเรย์ โดยรายงานผล (T-Score) เป็นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation, SD) เทียบกับกระดูกผู้ใหญ่มาตรฐาน ซึ่งคนที่มีมวลกระดูกปกติ ค่าจะอยู่ในช่วง +1 ถึง -1 SD แต่คนที่มีภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ค่าจะติดลบมากกว่า -2.5 SD ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก ให้มากขึ้นด้วยนั่นเอง
มวลกระดูก (Bone Mass) จะเริ่มลดลงปีละ 1 – 2% ช่วงอายุ 25 – 30 ปี โดยเฉพาะเพศหญิงที่เข้าสู่วัยทอง มวลกระดูกจะลดลงอย่างชัดเจน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนมากกว่าเพศชายถึง 4 เท่า จึงเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักมากกว่า มีการศึกษาระบุว่า ตลอดชีวิตของเพศหญิง มีโอกาสเกิดกระดูกหักจากกระดูกพรุน (Osteoporotic Fractures) 40 – 50% ส่วนเพศชายอยู่ที่ 13 – 22% ยิ่งถ้าเป็นกระดูกสะโพกหัก จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพถึง 6 เท่า ซึ่งคนที่มีกระดูกพรุนจำนวนไม่น้อย ไม่มีอาการผิดปกติที่ชัดเจน ถ้าไม่ตรวจมวลของกระดูก ก็ไม่มีโอกาสทราบว่ามีภาวะกระดูกพรุน อาจรู้อีกครั้งตอนที่กระดูกหักง่ายกว่าปกติ ถึงตอนนั้นก็อาจสายเกินไปแล้ว
การเกิดโรคกระดูกพรุนในระยะแรก มักไม่มีอาการ แต่ถ้ามวลกระดูกน้อยลง จนทำให้โครงสร้างผิดรูป อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ จากการบาดเจ็บของกระดูกอ่อน, ข้อต่อ, กล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น และโครงสร้างโดยรอบได้
การเกิดกระดูกหักแบบไม่สมเหตุสมผล เช่น กระดูกสะโพกหักเพราะเซล้มลงบนที่นอน, กระดูกสันหลังหักจากการเอี้ยวตัว, กระดูกข้อมือหักจากการนวด
กระดูกพรุนที่ถูกเสียดสี มีรอยร้าว หรือบาดเจ็บ จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารอักเสบออกมา ส่งผลให้มีอาการปวดกระดูก หรือปวดข้อ ซึ่งหากปวดขึ้นเรื่อย ๆ ควรรับการตรวจเพิ่มเติม
บ่งบอกถึงการทรุดตัวของกระดูกสันหลัง ถือเป็นกระดูกสันหลังหักรูปแบบหนึ่ง (Compression Fracture) ที่มักเกิดจากกระดูกพรุน ทำให้กระดูกสันหลังกลายเป็นรูปลิ่ม จนหลังโก่ง หลังค่อมขึ้นเรื่อย ๆ อาจเกิดร่วมกับอาการปวดกระดูก ปวดหลังเรื้อรังได้
ภาวะกระดูกพรุน อาจทำให้กระดูกสันหลังค่อย ๆ ยุบตัวลง จนส่งผลให้ความสูงลดลง ซึ่งถ้าผู้สูงอายุมีความสูงลดลงมากกว่า 3.8 ซม. ควรสงสัยภาวะกระดูกทรุดจากกระดูกพรุน ซึ่งควรตรวจกระดูกเพิ่มเติม
มีการศึกษาของประเทศจีนรายงานว่า ความแข็งแรงของการกำมือ (Grip Strength) เป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงของภาวะกระดูกพรุนได้ ซึ่งหญิงวัยหมดประจำเดือน ที่กำมือได้ไม่แน่น ทำของหล่นบ่อย จะมีความหนาแน่นของกระดูกสันหลังส่วนเอว หัวของกระดูกต้นขา และกระดูกสะโพก ลดลงอย่างชัดเจน
ภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ จะเพิ่มความเสี่ยงกระดูกหัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างชัดเจน ดังนั้นการป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดความผิดปกติ ย่อมเป็นทางเลือกในการดูแลกระดูกที่ปลอดภัยกว่า อย่างการเลือกบำรุงกระดูกด้วยคอลลาเจนไทป์ 2 เช่นที่มีอยู่ใน FORTE Collagen จะช่วยเสริมความแข็งแรงของความกระดูก ชะลอความเสื่อมที่เกิดตามวัย นอกจากนี้ยังมีอะบาโลนคอลลาเจน คอลลาเจนไทป์ 1 และไทป์ 3 รวมถึงวิตามินซี ที่จะช่วยดูแลกระดูกอ่อน, ข้อต่อ, กล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น, เส้นเลือดได้อีกด้วย
คนที่มีภาวะกระดูกหักง่ายผิดปกติ, หญิงวัยทอง, เพศชายที่อายุเกิน 70 ปี และกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง ควร ตรวจมวลกระดูก อย่างน้อย 1 ครั้ง และตรวจประจำทุก 1 – 3 ปีหากมีความผิดปกติ แต่ทางที่ดี ควรเริ่มดูแลตัวเองด้วยการดื่ม FORTE คอลลาเจนเสริมกระดูกตั้งแต่วันนี้ เพื่อลดความเสี่ยงกระดูกพรุน และกระดูกหักในอนาคต