เมื่ออายุย่างเข้า 50 ปี ผู้หญิงส่วนใหญ่เริ่มหมดประจำเดือนถาวร ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะที่รังไข่หยุดทำงานแล้ว เรียกได้ว่า ก้าวเข้าสู่วัยทองอย่างเต็มรูปแบบ แต่ อาการวัยทอง ผู้หญิง แต่ละคนนั้น กลับแตกต่างกันไป โดยที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? ลองมาหาคำตอบกัน
ทำไมอาการวัยทอง ผู้หญิงแต่ละคนถึงต่างกัน ?
สำหรับวัยทอง อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้น มีตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงระดับที่รุนแรง รบกวนชีวิตประจำวัน ซึ่งความแตกต่างของอาการเป็นผลจากหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญคือ ช่วงเวลาก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause) หากใครที่ค่อย ๆ หมดประจำเดือน ใช้เวลานาน 2 – 4 ปี กว่าจะเข้าวัยทอง มักจะมีอาการน้อยกว่า เพราะร่างกายได้เรียนรู้ที่จะปรับตัว ร่วมกับมีเวลาดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย ทานอาหารเสริม บำรุงร่างกายต่อเนื่อง ต่างกับคนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 6 เดือนในการเข้าสู่วัยทอง ซึ่งระดับฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการมากกว่า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องกรรมพันธุ์, โรคประจำตัว, ยาที่ใช้, อาหาร, การดูแลตัวเอง และสิ่งแวดล้อมด้วย
อาการวัยทอง ผู้หญิง ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง ?
📌 อาการร้อนวูบวาบ
เกิดจากการหดหรือขยายตัวของเส้นเลือด (Vasomotor Symptoms, VMS) ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน พบได้ราว 75% ของวัยทอง โดยอาการร้อนวูบวาบนี้ มักเป็นแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 30 นาที แต่จะคงอยู่นาน 6 เดือน – 2 ปี
📌 รู้สึกหนาวสั่น
บางเวลาวัยทองอาจรู้สึกหนาวสั่น จนเหมือนเป็นไข้ ทั้งที่วัดอุณหภูมิกายแล้วปกติ ซึ่งเกิดจากระดับของฮอร์โมน ที่ส่งผลต่อการทำงานของเส้นเลือด บางครั้งอาจมีอาการร้อนวูบวาบ สลับกับหนาวสั่นได้เลย
📌 อารมณ์แปรปรวน
กลไกการเกิดอาการนี้ คล้ายกับช่วงวัยที่ผู้หญิงมีประจำเดือน ซึ่งระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกโดยตรง บางคนเผชิญกับความรู้สึกหดหู่ จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งบุคคลในครอบครัว ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติอย่างใกล้ชิด
📌 เหงื่อออกตอนกลางคืน
สำหรับวัยทอง อาการอย่างหนึ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก คือเหงื่อออกมากผิดปกติ ในตอนกลางคืน (Night Sweat) ส่งผลให้หลายคนหลับไม่สบาย จนคุณภาพการนอนลดลง หรือบางครั้งอาจร้อนมากจนต้องตื่นกลางดึก ซึ่งลดทอนคุณภาพชีวิตอย่างแน่นอน
📌 นอนไม่หลับ
มีการศึกษาพบว่า อาการนอนไม่หลับ เป็นความผิดปกติหนึ่งของวัยทอง ผู้หญิงมากกว่า 60% กำลังประสบปัญหานี้ ทั้งนอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท หลับแล้วลุกตื่นกลางดึก หรือตื่นเช้าเร็วกว่ากำหนด ซึ่งเกิดจากการลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นหลัก
📌 ปวดข้อ ปวดกระดูก
การที่ฮอร์โมนเพศลดลง ส่งผลโดยตรงต่อกระบวนการสร้างกระดูก ร่างกายมีแคลเซียมสะสมน้อยลง สร้างคอลลาเจนได้ลดลง ประกอบกับคอลลาเจนกระดูกที่มีอยู่เดิมเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน จนเกิดอาการข้อเสื่อมตามมา
📌 ปวดเมื่อยตามตัว
บางคนอาจเพิ่งเริ่มรู้สึกปวดเมื่อย หลังจากหมดประจำเดือน แต่หากใครที่เคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Fibromyalgia) มาก่อนแล้ว อาจรู้สึกปวดมากขึ้นอีกหลายเท่าหลังจากหมดประจำเดือน ซึ่งบางครั้งพบว่า อาการปวดนั้นเป็นการปวดร้าวมาจากอวัยวะอื่น เช่น ข้อเสื่อมจากกระดูกพรุน, ปวดเอวจากหมอนรองกระดูกเสื่อม ร่วมกับปวดกล้ามเนื้อ จนยากที่จะแยกอาการออกจากกัน
📌 ปวดศีรษะไมเกรน
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เหวี่ยงขึ้นลง เป็นสาเหตุของอาการไมเกรน ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการวัยทอง ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนบางคน มีอาการหนักขึ้น ปวดศีรษะมากจนเป็นลม ปวดร้าวไปถึงเบ้าตา คลื่นไส้อาเจียน ในขณะที่บางคนที่เคยเป็นไมเกรน กลายเป็นเกือบหายสนิท แทบจะไม่ปวดศีรษะเลย ซึ่งอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
📌 ผมร่วง ผมบาง
วัยทอง อาการแสดงอย่างหนึ่งที่พบได้ไม่น้อย คือผมบาง ผมร่วงมากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนในร่างกายไม่สมดุล ทำให้รากผมไม่แข็งแรง ผมหลุดร่วงง่าย และโตช้ากว่าเดิม
📌 ผิวแห้งกร้าน
เมื่อเข้าสู่วัยทอง นอกจากผิวหนังจะสูญเสียความสามารถในการอุ้มน้ำ จนทำให้ผิวแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้นแล้ว การที่ระดับคอลลาเจนผิวลดลงอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ผิวแห้ง ผิวแตกลอก เกิดริ้วรอย ผิวหย่อนคล้อย ขาดความกระชับ และเกิดรอยช้ำง่ายกว่าเดิม
ดูแลอาการวัยทอง ผู้หญิง ด้วยอาหารเสริม บำรุงร่างกาย
วัยทอง เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างชัดเจน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ซึ่งการทานอาหารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน อาหารต้านอนุมูลอิสระ อาหารที่มีโปรตีนสูง จะช่วยชะลอความเสื่อม และลดอาการผิดปกติได้ โดยเฉพาะการทานคอลลาเจนบำรุงกระดูก และดูแลผิวหนัง ทั้งคอลลาเจนไทป์ 1, 2, 3 และอาบาโลนคอลลาเจน แบบที่รวมอยู่ใน FORTE Collagen จะช่วยลดอาการกระดูกพรุน, ข้อเสื่อม, ริ้วรอย, ผมร่วงของวัยทองได้อย่างดี
อาการวัยทอง ผู้หญิงแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่อาการร้อนวูบวาบ, อารมณ์แปรปรวน, ปวดข้อ ข้อเสื่อมจากกระดูกพรุนนั้น เป็นภาวะที่พบได้บ่อย จึงควรทานอาหารเสริม บำรุงร่างกาย เพื่อเติมเต็มคอลลาเจนที่ขาดหาย ฟื้นฟูส่วนที่เสื่อมสภาพ จะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นอิสระอีกครั้ง