กลุ่มโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อม ซึ่งพบได้เกือบทุกระบบในร่างกาย บางโรคอาจไม่แสดงอาการ ในขณะที่บางภาวะอาจสังเกตเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน ดังนั้นลูกหลานที่ใกล้ชิด ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของโรคที่พบบ่อยไว้ เพื่อให้สามารถดูแล และสังเกตความผิดปกติได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ
10 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ควรรีบดูแล
โรคเส้นเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke)
เส้นเลือดสมองตีบเป็นโรคที่ค่อนข้างรุนแรง อาจทำให้ทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิตได้ เป็นปัญหาผู้สูงอายุ ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตทั่วโลกราว 6 ล้านคนต่อปี เฉพาะในประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้สูงกว่าปีละ 35,000 คน ญาติจึงควรรู้จักสังเกตอาการผิดปกติเบื้องต้น อย่างลิ้นแข็ง, พูดไม่ชัด, ปากเบี้ยว, แขนขาอ่อนแรง, เดินเซ หรืออาการชาบางตำแหน่ง ซึ่งหากได้รับยาสลายลิ่มเลือดทันภายใน 3 – 4.5 ชั่วโมงแรก โอกาสที่จะหายเป็นปกติจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 10%
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำ ร่างกายจะเกิดการปรับตัว ทำให้ต้องใช้ปริมาณอินซูลินสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อนำน้ำตาลขนาดเท่าเดิมเข้าเซลล์ เกิดเป็นภาวะดื้ออินซูลิน จนกลายเป็นโรคเบาหวาน สังเกตได้จากอาการปัสสาวะบ่อย, หิวน้ำบ่อย, อ่อนเพลีย และน้ำหนักอาจลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงแรก
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
ความดันโลหิตสูง สาเหตุการเกิดหลักยังไม่ทราบชัดเจน แต่สันนิษฐานว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือดตามวัย เพราะร่างกายสร้างคอลลาเจนได้ลดลง จึงยืดหยุ่นน้อยลง ความดันโลหิตจึงสูงขึ้น ซึ่งการทานอาหารเสริมคอลลาเจน อาจมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นได้
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Ischemic Heart Disease)
โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุอีกหนึ่งโรค คือหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยเฉพาะในคนที่มีโรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคอ้วน, โรคไขมันในเลือดสูงอยู่เดิม อาจทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก บางรายอาจเจ็บร้าวไปที่หัวไหล่ซ้าย เจ็บร้าวทะลุหลัง อาจมีอาการเหงื่อออกใจสั่น หน้ามืดเวียนศีรษะร่วมด้วย ซึ่งหากสังเกตอาการผิดปกติได้เร็ว ก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนลงได้มาก
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
International Osteoporosis Foundation รายงานว่า หญิงอายุมากกว่า 50 ปีจำนวน 1 ใน 3 และชาย 1 ใน 5 กำลังเผชิญกับภาวะกระดูกพรุน ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่รายที่มีอาการก็มักมีแค่ปวดข้อ ปวดกระดูกเท่านั้น ทำให้หลายรายจะได้รับการวินิจฉัย ก็ต่อเมื่อมีกระดูกหักหลังเกิดอุบัติเหตุแล้ว ซึ่งหากต้องการลดความเสี่ยงของปัญหาผู้สูงอายุโรคนี้ สามารถเสริมด้วยแคลเซียม และคอลลาเจนได้ตั้งแต่อายุ 25 ปีเป็นต้นไป
โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)
ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการอักเสบที่ผิวของกระดูกอ่อนข้อเข่าสะสม ซึ่งในช่วงที่อายุยังน้อย ร่างกายจะสามารถสร้างคอลลาเจนขึ้นมาทดแทน และยับยั้งการอักเสบได้เร็ว แต่เมื่ออายุมากขึ้น คอลลาเจนถูกสร้างน้อยลง ประกอบกับการที่กระดูกอ่อนเข่าไม่มีเลือดมาเลี้ยงโดยตรง ทำให้แผลที่ผิวกระดูกอ่อนหายช้า และหายยาก ส่งผลให้กลายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย
โรคกระดูกสันหลังยุบตัว (Vertebral Compression Fracture)
อีกภาวะหนึ่งที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง คือการที่กระดูกสันหลังยุบหรือทรุดตัว ซึ่งในคนสูงอายุมักมีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากกระดูกพรุน ทำให้เมื่อมีการกระแทกเพียงเล็กน้อย เช่น เดินตกหลุม, รถกระแทก, สะดุดขอบประตูล้ม ก็สามารถทำให้กระดูกสันหลังยุบได้ทันที โดยบางคนอาจรู้สึกเจ็บอย่างรุนแรง ในขณะที่บางคนอาจมีแค่อาการปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดหลังนิดหน่อยเท่านั้น
โรคเก๊าท์ (Gouty Arthritis)
ปัญหาผู้สูงอายุที่มักทำให้ ปวดข้อ ปวดกระดูกได้บ่อย คือโรคเก๊าท์ ซึ่งเกิดจากการที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง จนตกผลึกอยู่ในข้อต่อและเนื้อเยื่อโดยรอบ อาจสังเกตเห็นข้อนิ้วโป้งเท้า, ข้อเท้า, ข้อเข่า บวมแดง ขยับไม่ได้ อาการอาจอยู่นาน 3 – 5 วัน ซึ่งหากไม่ได้รักษา อาการอาจเกิดถี่ขึ้นและเป็นหลายข้อกว่าเดิม
โรคมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia)
เมื่ออายุมากขึ้นคอลลาเจนใหม่จะถูกสร้างน้อยลง ส่วนคอลลาเจนที่มีอยู่เดิมในกระดูก, ข้อต่อ, เส้นเอ็น, ผิวหนังก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งในส่วนของกล้ามเนื้อที่น้อยลง เป็นอีกโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุประมาณ 30% อาจทำให้ทรงตัวและเคลื่อนไหวลำบาก จนเพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้
โรควุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration)
ส่วนของวุ้นในลูกตาเป็นสารกึ่งเหลว ประกอบด้วยคอลลาเจนจำนวนไม่น้อย ทำให้เมื่ออายุมากขึ้น วุ้นตาก็จะเริ่มเสื่อมลง ทำให้เห็นเงาดำลอยไปมาในลูกตา อาจเห็นเป็นแสงแฟลชวาบในบางครั้ง ซึ่งหากไม่รีบดูแลสุขภาพดวงตา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้
โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
ส่วนหนึ่งเกิดจากความเสื่อมของคอลลาเจน ทั้งในกระดูก, ข้อต่อ, กล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น, เส้นเลือด และดวงตา ทำให้รบกวนการใช้ชีวิต และสร้างปัญหาให้กับผู้สูงอายุไม่น้อย ซึ่งหากเริ่มดูแลสุขภาพ ด้วยอาหารเสริมคอลลาเจน ที่อุดมไปด้วยคอลลาเจนไทป์ 2 อย่าง FORTE Collagen ตั้งแต่วันนี้ อาจช่วยชะลอความเสื่อม ซ่อมแซม และเติมเต็มคอลลาเจนส่วนที่ขาดหาย ให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้นอีกครั้ง