ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) หมายความว่า มีจำนวนผู้สูงอายุสูงถึง 20% ของประเทศ ซึ่งมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามวัย มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย ได้มากกว่าช่วงอายุอื่น แต่หากคนใกล้ชิด ดูแลผู้สูงอายุแบบเข้าใจความเปลี่ยนแปลง ช่วยเสริมความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ สังคมจะมีทรัพยากรบุคคลซึ่งเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ อยู่เป็นกำลังในการขับเคลื่อนประเทศเพิ่มขึ้นอีกมาก
ความเข้าใจ คือหัวใจของการดูแลผู้สูงอายุ
โครงสร้างที่เล็กที่สุดในร่างกายคือเซลล์ ที่จะรวมกันจนเป็นอวัยวะ ซึ่งเซลล์แต่ละชนิดมีอายุ และมีหน้าที่ในการทำงานที่ต่างกัน โดยร่างกายจะมีระบบที่ควบคุมการสร้าง และการทำลายเซลล์เหล่านี้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นระบบเหล่านี้เริ่มเสื่อมลง เราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย ซึ่งหากมีความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้เรา ดูแลผู้สูงอายุ ได้ง่ายขึ้น สามารถเลือกกิจกรรม, เลือกการออกกำลังกาย และเลือกอาหารเสริมผู้สูงอายุที่เหมาะสมได้
10 วิธี ดูแลผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพดีจากภายใน
เน้นฝึกทรงตัว
เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงวัยจะเริ่มมีปัญหากระดูกพรุน, ข้อเข่าเสื่อม, กล้ามเนื้อขาลีบ ทำให้เสียสมดุลในการเคลื่อนไหว เดินไม่มั่นคง ขาดความคล่องตัว ซึ่งเพิ่มโอกาสของการพลัดตกหกล้ม เสี่ยงต่อกระดูกหัก จึงควรฝึกการทรงตัว (Balance Training) ด้วยการรำไทเก๊ก, เล่นโยคะ, เดินต่อขา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงได้
ออกกำลังกายแบบคาดิโอ
การแนะนำข้อมูล เพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นถึงความสำคัญ ของการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ที่จะช่วยเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ เพิ่มความฟิตของหัวใจและหลอดเลือด เป็นเรื่องที่ผู้ดูแลควรเน้นย้ำ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดปัญหาผู้สูงอายุที่พบบ่อย อย่างโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคความดันโลหิตสูง โดยควรทำอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
ตรวจร่างกายประจำปี
การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มีทั้งแบบแสดงอาการ และไม่แสดงความผิดปกติให้เห็น ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยคัดกรองความเสี่ยง ค้นหาโรคที่ซ่อนอยู่ อย่างโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ตรวจการได้ยิน การมองเห็น และมวลกระดูก ทำให้เริ่มรักษาได้เร็วขึ้น
พบปะเพื่อนฝูง
ภาวะซึมเศร้า เป็นปัญหาผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย เป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจที่ยากจะวินิจฉัย ดังนั้นการพาผู้สูงอายุเข้าสังคม พบปะเพื่อนฝูง หรือทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกับผู้อื่น จะช่วยลดความรู้สึกอ้างว้างหลังเกษียณ ลดความรู้สึกเหงา และยังลดโอกาสเกิดความจำเสื่อมได้อีกด้วย
ท่องเที่ยวเปลี่ยนบรรยากาศ
การพาผู้สูงอายุท่องเที่ยวเปลี่ยนบรรยากาศนั้น มีประโยชน์ในหลายแง่มุม ทั้งช่วยให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจในการบริหารร่างกาย เพื่อให้พร้อมสำหรับทริปต่อไป เป็นการลดโอกาสเกิดกระดูกพรุนทางอ้อม ทั้งยังทำให้ผู้สูงวัยเห็นคุณค่าในตัวเอง รู้สึกถึงความสำคัญที่ลูกหลานมอบให้ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดความเจ็บป่วยทางใจลงได้มาก
เสริมกิจกรรมฝึกสมอง
ระบบการประมวลผล การทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ จะเริ่มช้าลงเมื่ออายุมากขึ้น เป็นผลจากเซลล์สมองเริ่มหดตัว เส้นประสาทเสื่อมสภาพ ดังนั้นการหากิจกรรมฝึกสมอง อย่างการเล่นเกมกระดาน, เกมจับผิดภาพ, เกมจับคู่, เกมซูโดกุ จะเป็นการช่วยชะลอความเสื่อมของระบบประสาทได้อย่างดี
นอนหลับแบบมีคุณภาพ
ข้อมูลจาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC) แนะนำว่า ควรดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ให้นอนหลับอย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง เพื่อลดอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน และเป็นการเปิดโอกาสให้ร่างกาย ได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งควรสร้างบรรยากาศให้เหมาะกับการพักผ่อน เช่น อุณหภูมิห้องเย็นสบาย, ไม่มีเสียงรบกวน, ปิดไฟให้สนิท แต่มีไฟหัวเตียงติดตั้งไว้ เพื่อเปิดสำหรับลุกเข้าห้องน้ำ
ควบคุมน้ำหนัก
การดูแลให้น้ำหนักผู้สูงอายุอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ระหว่าง 18.5 – 22.90 กก./ม.2 ตามเกณฑ์ของชาวเอเชีย จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ และโรคเรื้อรังอีกหลายชนิด โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุน และโรคข้อเสื่อม เพราะเข่าไม่ต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป
ทานอาหารเพื่อสุขภาพ
ปัญหาผู้สูงอายุเรื่องหนึ่งที่พบบ่อย คือการขับถ่าย ที่มักเกิดปัญหาท้องผูกเป็นประจำ หรือบางครั้งอาจมีอาการท้องอืด ซึ่งเกิดจากระบบทางเดินอาหารทำงานได้น้อยลง เพราะฉะนั้นควรเลือกทานอาหารย่อยง่าย พืชผักที่มีกากใยไฟเบอร์สูง โดยเน้นการปรุงอาหารแบบต้ม อบ นึ่ง ซึ่งจะช่วยในการดูแลน้ำหนักด้วย
เติมเต็มสารอาหารส่วนที่ขาด
การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุที่สังเกตเห็นภายนอก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงภายใน เช่น ร่างกายสร้างคอลลาเจนน้อยลง, มีการทำลายกระดูกมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการดูดซึมสารอาหารที่น้อยลง และความสามารถในการสร้างสารต่าง ๆ ในกระบวนการชีวเคมีที่น้อยลงด้วย ดังนั้นอาหารเสริมผู้สูงอายุ อย่างคอลลาเจน, แคลเซียม, เหล็ก, สังกะสี จะช่วยเติมเต็มความต้องการในส่วนนี้
การดูแลผู้สูงอายุ ควรเน้นความสำคัญของทั้งร่างกายและจิตใจ บำรุงทั้งภายนอกและภายใน โดยเฉพาะการเติมเต็มส่วนที่ขาด ด้วยอาหารเสริมผู้สูงอายุอย่าง FORTE Collagen ที่จะเสริมคอลลาเจนให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง ทดแทนในส่วนขาด ซ่อมแซมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์ เพื่อลดเสี่ยงอุบัติเหตุและโรคภัยต่าง ๆ สูงวัยได้อย่างแข็งแรง